ตัว ชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทางได้รับการพัฒนาขึ้นโดยโจ ดินาโปลีในช่วงต้นยุค 1980 และได้มีการเขียนอธิบายอุปกรณ์ดังกล่าวลงในหนังสือ ”Trading with DiNapoli Levels” ด้วย ดินาโปลีได้ทำการพัฒนาตัวชี้วัดอื่นๆอีกมากมาย ตัวชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทาง (TrendlessOS) เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับช่วยในการตัดสินใจ โดยอุปกรณ์หลักที่ปกติเรามักใช้ในการตัดสินใจคือลำดับเลขอนุกรมมหัศจรรย์ (Fibonacci levels) อย่างไรก็ตามดินาโปลีคิดว่าตัวชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทาง (Trendless) สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการซื้อขายอิสระได้อีกด้วย .
สูตรคำนวณ
TrendlessOscilator = close – SMA (7, close)
วิธีการใช้งาน
โจ ดินาโปลีได้อธิบายกลวิธีหลักๆในการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มี ทิศทางกับตลาดการเงินที่มีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอเอาไว้ โดยกลวิธี 3 ใน 5 ของกลวิธีทั้งหมดที่ได้มีการอธิบายเอาไว้นั้นเป็นที่นิยมสำหรับคนส่วนมาก โดยคนเหล่านั้นได้บอกว่าตัวชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทางเป็นตัวชี้วัด ที่ทำกำไรให้กับพวกเขาได้มากที่สุดหากเทียบกับตัวชี้วัดประเภทเดียวกันตัวอื่น
- ตัว ชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทางอาจใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการปิดการตกลง ซื้อขายได้ หากค่าของตัวชี้วัดดังกล่าวขึ้นไปถึงระดับการซื้อมากเกินไป (overbought levels ) ที่ราวๆ 70-100 เปอร์เซ็นต์ นักลงทุนควรปิดการซื้อขาย สินทรัพย์ทุกประเภทจะได้รับการคำนวณรายตัวโดยอิงจากข้อมูลกราฟรายวัน โดยโจ ดินาโปลีจะปิดการซื้อขายหากค่าของตัวชี้วัดพุ่งขึ้นไปที่ระดับ +90% เมื่อค่าดังกล่าวขึ้นไปถึงระดับการซื้อที่มากเกินไปแล้ว ราคาอาจดิ่งลง
- ตัวชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทางอาจถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องกรองสัญญาณในการ เปิดการซื้อขายในตลาดการเงิน หากสัญญาณในการเปิดการซื้อขายปรากฏขึ้นในขณะที่ค่าของตัวชี้วัดสภาพตลาดที่ ยังไม่มีทิศทางอยู่ในระดับที่เหนือกว่า +65% ขึ้นไป นักลงทุนยังไม่ควรเปิดการตกลงซื้อขายเนื่องจากอาจเกิดการผันผวนของราคา อย่างรุนแรงได้ โจ ดินาโปลีแนะนำให้นักลงทุนรอเพื่อที่จะทำการซื้อขายในวันถัดไป (ในกรณีที่เป็นการซื้อขายระหว่างวัน) และหากสัญญาณดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ นักลงทุนควรพิจารณาตัวชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทางอย่างระมัดระวัง
- ตัว ชี้วัดสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทางอาจถูกใช้เพื่อเป็นตัวชี้วัดอัตราความ ผันผวนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็วและอาจเกิดการชะงักของราคาได้ หากค่าของตัวชี้วัดเข้าใกล้ระดับ 0% เป็นเวลานาน อาจหมายถึงการที่อัตราความผันผวนของตลาดกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดก็อาจนำไปสู่การชะงักของราคา โดยนักลงทุนควรประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวในการซื้อขาย พร้อมทั้งระบุเวลาในการทำข้อตกลงซื้อขายจริงด้วย